พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
ตะกรุดเป่าแล่นใ...
ตะกรุดเป่าแล่นในตำนาน อาจารย์ยัง วัดบางจาก อีก1สายสะพานสูง ...ที่หายากมากๆ..**
*...ตะกรุดเป่าแล่นในตำนาน อาจารย์ยัง วัดบางจาก อีก1สายสะพานสูง ...ที่หายากมากๆ..**
รายละเอียด วิชาตะกรุดเป่าแล่น เป็นวิชาที่สืบทอดกันมาของสายสะพานสูงนะครับ ตามประวัติที่เล่าขานกันมา ตั้งแต่ยุค หลวงปู่เอี่ยม หลวงปู่กลิ่น อาจารย์แปลก จนมาถึง อ.ยัง วัดบางจาก สุดยอดแห่งโภคทรัพย์ และ โชคลาภ และ สร้างไว้น้อยมากๆ เรียกว่าน้อยยิ่งกว่าน้อย ดอกนี้ ยาว 2 นิ้วหย่อน เล็กกว่ามวนบุหรี่ เนื้อเงินใส้ฝาบาตรด้านใน ตะกรุดในตำนานของเมืองนนทบุรีครับ....
สุดยอดความหายากของคนปากเกร็ดว่ากันว่าหายากกว่าตะกรุดหลวงปู่กลิ่นหลายเท่าตัว
ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน "เมือง นนทบุรี"มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังจำพรรษาอยู่ตามวัดต่างๆ เป็นจำนวนมาก รูปหนึ่งที่ถูกกล่าวขวัญถึง นั่นก็คือ "หลวงปู่บุญยัง จันทสาโร" วัดบางจาก บ้านลำพูลาย ต.คลองพระอุดม อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ปัจจุบันวัตถุมงคลประเภทพระเครื่องและเครื่องรางของขลังของท่านโด่งดังมาก โดยเฉพาะ "เหรียญพระปางประจำวัน" และ "ตะกรุดเป่าแล่น" หลวงปู่บุญยัง จันทสาโร' พระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าของวัดบางจาก ต.คลองพระอุดม อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี อัตโนประวัติ หลวงปู่บุญยัง จันทสาโร ท่านเกิดเมื่อปีพ.ศ.2427 มีโยมมารดาเป็นชาวบ้านลำพูลาย อาศัยอยู่ในสวนข้างวัดบางจากและได้อุปสมบทเมื่ออายุครบ 20 ปี ณ วัดบางจาก ต.คลองพระอุดม อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ซึ่งมี พระคุณาวงศ์ (สน นาคสนโท) วัดปรมัยยิกาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสุเมธมุนี วัดบ่อ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายา "จันทสาโร"หลังบวชแล้ว ตัวท่านพร้อมด้วย พระไตรสรณธัช (แสน โกลิโต) และพระปลัดอั้น พุทธวังโส ได้ออกธุดงค์และเดินทางไปศึกษาวิชาที่ประเทศพม่า โดยพระทั้ง 3 รูป ได้เรียนวิชาด้านต่างๆ ดังนี้ พระปลัดบุญยัง จันทสาโร ได้ศึกษาศาสตร์ทางด้านสาลิกาลิ้นทอง ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางจาก รูปที่ 2 พระไตรสรณธัช (แสน โกลิโต) ได้ศึกษาศาสตร์ทางด้านภาษาบาลี ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางจากรูปแรก และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปรมัยยิกาวาส ต.เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ในกาลต่อมา พระปลัดอั้น พุทธวังโส ได้ศึกษาศาสตร์ทางด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสนามเหนือ ต.เกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีเมตตาสูง ซึ่งประวัติของท่านจากคำบอกเล่าของศิษย์ใกล้ชิด นายจาบ หอมเตย (ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่) ว่าในตอนที่ยังเป็นเด็ก สมัยที่หลวงปู่บุญยัง ท่านยังดำรงขันธ์อยู่นั้น ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในข้อวัตรปฏิบัติ มีเมตตาธรรมและวาจาสิทธิ์ จึงเป็นที่เคารพของชาวบ้านและคนใกล้เคียง"มีอยู่ครั้งหนึ่งได้มีฝูงอีกามาเกาะบริเวณสวนข้างวัดบางจาก ซึ่งได้มีจ่าฝูงตัวใหญ่สีดำตัวหนึ่งบินมาเกาะที่ตักหลวงปู่บุญยัง ในช่วงเวลาที่ท่านฉันอาหารเช้าและฉันอาหารเพลของทุกวัน ซึ่งชาวบ้านทราบดีว่าเป็นอีกาที่ท่านเลี้ยงไว้ จึงไม่มีใครกล้าทำอันตรายอีกาฝูงนี้ แต่ได้มีชายคนหนึ่ง ชื่อนายแสน ซึ่งอาศัยอยู่หน้าวัดบางจาก เกิดความคึกคะนอง จึงได้ใช้ปืนแก๊ปยิงอีกาจ่าฝูงตัวที่ท่านเลี้ยงไว้และมันได้บินมาตายตรงหน้าตักหลวงปู่บุญยัง ทำให้ท่านมีความเวทนาเป็นอย่างยิ่ง จึงได้กล่าวว่า "คนที่ทำกับเจ้าก็จะตายอย่างเจ้า" ไม่นานนายแสนก็ถูกนายวน คลองข่อย ยิงตายดังวาจาสิทธิ์ที่หลวงปู่บุญยังได้กล่าวไว้ หลวงปู่บุญยังเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่มีกิจนิมนต์พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลชุกมากรูปหนึ่ง ท่านได้รับนิมนต์ให้ไปอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคลพิธีใหญ่ๆ นับไม่ถ้วน อาทิ พิธีจัดสร้างพระพุทธ 25 ศตวรรษ (พุทธมณฑล) ปีพ.ศ.2500, พิธีจัดสร้างพระรอดเสาร์ห้า วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ ปีพ.ศ.2496, พิธีจัดสร้างพระเนื้อผงวัด สุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร ปีพ.ศ.2496 นอกจากนี้ ท่านยังได้รับนิมนต์ให้ร่วมพิธีจัดสร้างเหรียญเสมาและรูปเหมือนของหลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม และพระครูโสภณศาสนกิจ หรือหลวงปู่กลิ่น จันทรังสี แห่งวัดสะพานสูง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมจากนักสะสม อย่างมาก วัตุมงคลของท่าน ไม่ว่า นางกวักไม้แกะ และเหรียญรูปเหมือน สร้างเมื่อประมาณปีพ.ศ.2487 ครั้งนั้นได้มีคณะลูกศิษย์ร่วมกันสร้างถวายให้ท่านอธิษฐานจิตปลุกเสก โดยเป็นเหรียญรูปพระประจำวัน เนื้อกะไหล่ทอง สร้างครบถ้วนทั้ง 7 วัน ด้านหลังเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่บุญยังครึ่งองค์ เขียนคำว่า "หลวงพ่อบุญยังวัดบางจาก ปากเกร็ด" และที่ขาดไม่ได้คือ เครื่องรางของท่าน ที่ล้วนแต่แสวงหา และหายากมาก คือตะกรุด"หลวงปู่บุญ วัดบางจาก บ้านลำพูลาย ตำบลคลองพระอุดม อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จัดสร้างเมื่อครั้งท่านได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางจาก ยุคแรกจะทำจากแผ่นเนื้อทองแดง ทองเหลือง และเนื้อเงิน นำมาม้วนประมาณ 3-4 รอบ รู ตะกรุดค่อนข้างโต มีความยาวต่างกันไป ตั้งแต่ 1-5 นิ้ว ส่วนยุคหลัง จัดทำเป็น "ตะกรุดเป่าแล่น" ซึ่งนามนี้เป็นมงคล พุทธคุณในเรื่องความสำเร็จและโชคลาภ เลยทำให้กลายเป็นของหายากและสนนราคาเล่นหาสูง วัสดุที่ทำใช้ท่อเหล็กยาวคล้ายก้านร่ม เป่ากับตะเกียงลาน เพื่อให้ตะกั่วสมานกับรอยต่อตะเข็บให้เป็นเนื้อเดียวกัน ในระยะแรกเชื่อมรอยต่อของตะกรุดแผ่นทองแดง หรือแผ่นทองเหลือง ที่ม้วนให้เป็นเนื้อเดียวกัน ยุคต่อมาใช้แผ่นนาก แผ่นเงิน และแผ่นทอง ห่อหุ้มตะกรุดทองแดงที่ม้วน 3-4 รอบ ไว้อีกชั้นหนึ่ง มีความยาวต่างกันไปตั้งแต่ 1 นิ้ว ถึง 3.5 นิ้ว หลวงปู่บุญยังจะเป็นผู้เป่ามนต์คาถาด้วยตัวท่านเอง จากคำบอกเล่าของพระครูกิตติ นนทคุณ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน กล่าวว่า เมื่อปี 2554 เสาหงส์หน้าโบสถ์จำนวน 2 ต้น ด้านขวาของโบสถ์ได้ใส่ตะกรุดเงินเป่าแล่นขนาน 3 นิ้ว ซึ่งได้รับมอบจาก "ถวิล ทวีกูล" ด้านซ้ายของโบสถ์เป็นตะกรุดทองแดงขนาด 3 นิ้ว ซึ่งได้รับมอบจาก "จาบ หอมเตย" ใส่ไว้ในยอดเสาหงส์ เพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา และระลึกถึงหลวงปู่บุญยังที่มีคุณูปการต่อวัดบางจากและพระพุทธศาสนาอย่างมากมาย
ผู้เข้าชม
8187 ครั้ง
ราคา
โทรหา
สถานะ
ขายแล้ว
โดย
ชื่อร้าน
ไชยเชษฐ พระเครื่อง
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
Popman1019
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารไทยพาณิชย์ / 171-2-30762-1

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
jazzsiam amuletจิ๊บพุทธะมงคลว.ศิลป์สยามภูมิ IRaonsamuiยุ้ย พลานุภาพ
เสน่ห์พระเครื่องsomemanLungchadkumphaแมวดำ99sun99
พีพีพระสมเด็จเทพจิระบี บุรีรัมย์tplasPopgomesเอ็ม คงกะพัน
Beerchang พระเครื่องholypanyadvmfuchoo18ยอด วัดโพธิ์Achinattapong939
termboonน้ำตาลแดงSpidermanเนินพระ99ชา วานิชชาวานิช

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1497 คน

เพิ่มข้อมูล

ตะกรุดเป่าแล่นในตำนาน อาจารย์ยัง วัดบางจาก อีก1สายสะพานสูง ...ที่หายากมากๆ..**




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
ตะกรุดเป่าแล่นในตำนาน อาจารย์ยัง วัดบางจาก อีก1สายสะพานสูง ...ที่หายากมากๆ..**
รายละเอียด
*...ตะกรุดเป่าแล่นในตำนาน อาจารย์ยัง วัดบางจาก อีก1สายสะพานสูง ...ที่หายากมากๆ..**
รายละเอียด วิชาตะกรุดเป่าแล่น เป็นวิชาที่สืบทอดกันมาของสายสะพานสูงนะครับ ตามประวัติที่เล่าขานกันมา ตั้งแต่ยุค หลวงปู่เอี่ยม หลวงปู่กลิ่น อาจารย์แปลก จนมาถึง อ.ยัง วัดบางจาก สุดยอดแห่งโภคทรัพย์ และ โชคลาภ และ สร้างไว้น้อยมากๆ เรียกว่าน้อยยิ่งกว่าน้อย ดอกนี้ ยาว 2 นิ้วหย่อน เล็กกว่ามวนบุหรี่ เนื้อเงินใส้ฝาบาตรด้านใน ตะกรุดในตำนานของเมืองนนทบุรีครับ....
สุดยอดความหายากของคนปากเกร็ดว่ากันว่าหายากกว่าตะกรุดหลวงปู่กลิ่นหลายเท่าตัว
ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน "เมือง นนทบุรี"มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังจำพรรษาอยู่ตามวัดต่างๆ เป็นจำนวนมาก รูปหนึ่งที่ถูกกล่าวขวัญถึง นั่นก็คือ "หลวงปู่บุญยัง จันทสาโร" วัดบางจาก บ้านลำพูลาย ต.คลองพระอุดม อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ปัจจุบันวัตถุมงคลประเภทพระเครื่องและเครื่องรางของขลังของท่านโด่งดังมาก โดยเฉพาะ "เหรียญพระปางประจำวัน" และ "ตะกรุดเป่าแล่น" หลวงปู่บุญยัง จันทสาโร' พระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าของวัดบางจาก ต.คลองพระอุดม อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี อัตโนประวัติ หลวงปู่บุญยัง จันทสาโร ท่านเกิดเมื่อปีพ.ศ.2427 มีโยมมารดาเป็นชาวบ้านลำพูลาย อาศัยอยู่ในสวนข้างวัดบางจากและได้อุปสมบทเมื่ออายุครบ 20 ปี ณ วัดบางจาก ต.คลองพระอุดม อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ซึ่งมี พระคุณาวงศ์ (สน นาคสนโท) วัดปรมัยยิกาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสุเมธมุนี วัดบ่อ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายา "จันทสาโร"หลังบวชแล้ว ตัวท่านพร้อมด้วย พระไตรสรณธัช (แสน โกลิโต) และพระปลัดอั้น พุทธวังโส ได้ออกธุดงค์และเดินทางไปศึกษาวิชาที่ประเทศพม่า โดยพระทั้ง 3 รูป ได้เรียนวิชาด้านต่างๆ ดังนี้ พระปลัดบุญยัง จันทสาโร ได้ศึกษาศาสตร์ทางด้านสาลิกาลิ้นทอง ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางจาก รูปที่ 2 พระไตรสรณธัช (แสน โกลิโต) ได้ศึกษาศาสตร์ทางด้านภาษาบาลี ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางจากรูปแรก และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปรมัยยิกาวาส ต.เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ในกาลต่อมา พระปลัดอั้น พุทธวังโส ได้ศึกษาศาสตร์ทางด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสนามเหนือ ต.เกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีเมตตาสูง ซึ่งประวัติของท่านจากคำบอกเล่าของศิษย์ใกล้ชิด นายจาบ หอมเตย (ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่) ว่าในตอนที่ยังเป็นเด็ก สมัยที่หลวงปู่บุญยัง ท่านยังดำรงขันธ์อยู่นั้น ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในข้อวัตรปฏิบัติ มีเมตตาธรรมและวาจาสิทธิ์ จึงเป็นที่เคารพของชาวบ้านและคนใกล้เคียง"มีอยู่ครั้งหนึ่งได้มีฝูงอีกามาเกาะบริเวณสวนข้างวัดบางจาก ซึ่งได้มีจ่าฝูงตัวใหญ่สีดำตัวหนึ่งบินมาเกาะที่ตักหลวงปู่บุญยัง ในช่วงเวลาที่ท่านฉันอาหารเช้าและฉันอาหารเพลของทุกวัน ซึ่งชาวบ้านทราบดีว่าเป็นอีกาที่ท่านเลี้ยงไว้ จึงไม่มีใครกล้าทำอันตรายอีกาฝูงนี้ แต่ได้มีชายคนหนึ่ง ชื่อนายแสน ซึ่งอาศัยอยู่หน้าวัดบางจาก เกิดความคึกคะนอง จึงได้ใช้ปืนแก๊ปยิงอีกาจ่าฝูงตัวที่ท่านเลี้ยงไว้และมันได้บินมาตายตรงหน้าตักหลวงปู่บุญยัง ทำให้ท่านมีความเวทนาเป็นอย่างยิ่ง จึงได้กล่าวว่า "คนที่ทำกับเจ้าก็จะตายอย่างเจ้า" ไม่นานนายแสนก็ถูกนายวน คลองข่อย ยิงตายดังวาจาสิทธิ์ที่หลวงปู่บุญยังได้กล่าวไว้ หลวงปู่บุญยังเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่มีกิจนิมนต์พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลชุกมากรูปหนึ่ง ท่านได้รับนิมนต์ให้ไปอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคลพิธีใหญ่ๆ นับไม่ถ้วน อาทิ พิธีจัดสร้างพระพุทธ 25 ศตวรรษ (พุทธมณฑล) ปีพ.ศ.2500, พิธีจัดสร้างพระรอดเสาร์ห้า วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ ปีพ.ศ.2496, พิธีจัดสร้างพระเนื้อผงวัด สุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร ปีพ.ศ.2496 นอกจากนี้ ท่านยังได้รับนิมนต์ให้ร่วมพิธีจัดสร้างเหรียญเสมาและรูปเหมือนของหลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม และพระครูโสภณศาสนกิจ หรือหลวงปู่กลิ่น จันทรังสี แห่งวัดสะพานสูง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมจากนักสะสม อย่างมาก วัตุมงคลของท่าน ไม่ว่า นางกวักไม้แกะ และเหรียญรูปเหมือน สร้างเมื่อประมาณปีพ.ศ.2487 ครั้งนั้นได้มีคณะลูกศิษย์ร่วมกันสร้างถวายให้ท่านอธิษฐานจิตปลุกเสก โดยเป็นเหรียญรูปพระประจำวัน เนื้อกะไหล่ทอง สร้างครบถ้วนทั้ง 7 วัน ด้านหลังเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่บุญยังครึ่งองค์ เขียนคำว่า "หลวงพ่อบุญยังวัดบางจาก ปากเกร็ด" และที่ขาดไม่ได้คือ เครื่องรางของท่าน ที่ล้วนแต่แสวงหา และหายากมาก คือตะกรุด"หลวงปู่บุญ วัดบางจาก บ้านลำพูลาย ตำบลคลองพระอุดม อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จัดสร้างเมื่อครั้งท่านได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางจาก ยุคแรกจะทำจากแผ่นเนื้อทองแดง ทองเหลือง และเนื้อเงิน นำมาม้วนประมาณ 3-4 รอบ รู ตะกรุดค่อนข้างโต มีความยาวต่างกันไป ตั้งแต่ 1-5 นิ้ว ส่วนยุคหลัง จัดทำเป็น "ตะกรุดเป่าแล่น" ซึ่งนามนี้เป็นมงคล พุทธคุณในเรื่องความสำเร็จและโชคลาภ เลยทำให้กลายเป็นของหายากและสนนราคาเล่นหาสูง วัสดุที่ทำใช้ท่อเหล็กยาวคล้ายก้านร่ม เป่ากับตะเกียงลาน เพื่อให้ตะกั่วสมานกับรอยต่อตะเข็บให้เป็นเนื้อเดียวกัน ในระยะแรกเชื่อมรอยต่อของตะกรุดแผ่นทองแดง หรือแผ่นทองเหลือง ที่ม้วนให้เป็นเนื้อเดียวกัน ยุคต่อมาใช้แผ่นนาก แผ่นเงิน และแผ่นทอง ห่อหุ้มตะกรุดทองแดงที่ม้วน 3-4 รอบ ไว้อีกชั้นหนึ่ง มีความยาวต่างกันไปตั้งแต่ 1 นิ้ว ถึง 3.5 นิ้ว หลวงปู่บุญยังจะเป็นผู้เป่ามนต์คาถาด้วยตัวท่านเอง จากคำบอกเล่าของพระครูกิตติ นนทคุณ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน กล่าวว่า เมื่อปี 2554 เสาหงส์หน้าโบสถ์จำนวน 2 ต้น ด้านขวาของโบสถ์ได้ใส่ตะกรุดเงินเป่าแล่นขนาน 3 นิ้ว ซึ่งได้รับมอบจาก "ถวิล ทวีกูล" ด้านซ้ายของโบสถ์เป็นตะกรุดทองแดงขนาด 3 นิ้ว ซึ่งได้รับมอบจาก "จาบ หอมเตย" ใส่ไว้ในยอดเสาหงส์ เพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา และระลึกถึงหลวงปู่บุญยังที่มีคุณูปการต่อวัดบางจากและพระพุทธศาสนาอย่างมากมาย
ราคาปัจจุบัน
โทรหา
จำนวนผู้เข้าชม
8316 ครั้ง
สถานะ
ขายแล้ว
โดย
ชื่อร้าน
ไชยเชษฐ พระเครื่อง
URL
เบอร์โทรศัพท์
0982494606
ID LINE
Popman1019
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารไทยพาณิชย์ / 171-2-30762-1




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี